top of page
การศึกษาหลังปริญญา

         หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีเป้าหมายที่จะจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้มีความรู้ความชำนาญในสาขาออร์โธปิดิกส์ มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรม และจริยธรรมตามมาตรฐานวิชาชีพ คำนึงถึงประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง รวมทั้งมีความรู้ในกระบวนการทำวิจัย การบริหารจัดการ สามารถทำงานร่วมกับแพทย์ บุคลากรทีมสุขภาพและสาขาวิชาชีพอื่น ๆ โดยมีจริยธรรมทางการแพทย์ที่ดี มีทักษะในเชิงวิชาการและสังคมเป็นอย่างดี ตลอดจนมีทักษะในการหาความรู้ได้ด้วยตัวเองและผลิตชิ้นงาน  หรือนำความรู้มาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหา รวมถึงการผลิตนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และการรักษาพยาบาลต่อไปในอนาคต

 

พันธกิจของการฝึกอบรม 

  1. ผลิตแพทย์ออร์โธปิดิกส์ที่มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรม โดยยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

  2. สามารถสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมด้านออร์โธปิดิกส์ที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาด้านออร์โธปิดิกส์ของประชาชนและสังคมไทย

  3. ให้บริการผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์และเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

  4. สามารถชี้นำสังคมในการป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพ รักษาโรคและการบาดเจ็บ ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม

หลักสูตร

ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรม

          เมื่อจบการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ได้รับวุฒิบัตรฯ จะต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน ดังนี้

           1. การบริบาลผู้ป่วย (Patient care)

                1.1  การบริบาลโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม

                1.2  คำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย

                1.3  ปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล

           2. ความรูู้และทักษะหัตถการเวชกรรม (Medical knowledge & procedural skills)

                2.1 มีความรู้ที่เหมาะสมและครอบคลุมในสาขาออร์โธปิดิกส์

                2.2 มีทักษะการทำหัตถการที่เหมาะสมและครอบคลุมในสาขาออร์โธปิดิกส์

                2.3 ประกอบเวชปฏิบัติได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสม

               

           3. ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)

                3.1 นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

                3.2 ถ่ายทอดความรู้และทักษะ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์

                3.3 สื่อสารให้ข้อมูลแก่ญาติและผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ เคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

                3.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           4. การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (Practice-based learning and improvement) โดยสามารถปฏิบัติงาน   แบบสหวิชาชีพหรือเป็นทีมได้

                4.1  พัฒนาตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ 

                4.2  ปฏิบัติงานเป็นทีมหรือแบบสหวิชาชีพได้

                4.3  ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์ สาธารณสุข หรือการการศึกษาแพทยศาสตร์ และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ 

            5. ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (Professionalism)

                5.1  มีจริยธรรมและมรรยาทแห่งวิชาชีพ 

                5.2  มีคุณลักษณะของความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Continuing medical education)

                5.3  มีการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (Continuous professional development)

                  

            6. การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (Systems-based practice)

                6.1  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ 

                6.2  มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย

                6.3  มีประสบการณ์ในการใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสมและสามารถปรับการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของระบบสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ


                     

bottom of page